หลักการทำงานของเครื่องวัดแอลกอฮอล์เมื่อเป่าลมหายใจ
การตรวจวัด ด้วยการเป่า โดยผู้ถูกตรวจจะต้องเป่าลมหายใจเข้าไปในเครื่องหรือตัวจับสารแอลกอฮอล์ (Detector)
และเมื่อได้รับ แอลกอฮอล์จากลมหายใจ เครื่องจะมีการแปรสภาพอาจจะมองไม่เห็น เช่น การเปลี่ยนแปลงของเคมีสี และ วัดได้จากพลังงาน พวก กระแสไฟฟ้าการดูดซับคลื่น การเปลี่ยนแปลงสภาพแบบนี้ จะรายงานออกมาที่หน้าของเครื่องวัดแอลกอฮอล์ ในรูปของค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood Alcohol Concentration:BAC)
ตัวอย่างตรวจจับแบบต่างที่ใช้ในการวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจ มีด้วยกัน 4 แบบคือ
- แบบ Colorimeter ใช้หลักการเปลี่ยนสีของ Potassium Dichromate จากสีเหลือง ถ้าได้รับไอของแอลกอฮอล์ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวซึ่งทำให้รู้ว่ามีแอลกอฮอล์อยู่ในร่างกาย
ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ใช้ได้ครั้งเดียว
แบบ Semiconductor ใช้หลักการไอของแอลกอฮอล์ไปจับ Semi-conductor ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลงและตรวจจับ
ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ แต่ความเที่ยงตรงไม่ดี ไม่แนะนำ
- แบบ Fuel cell เป็นแบบเซลไฟฟ้าเคมี(Electrochemical Fuel cell) เมื่อไอของ แอลกอฮอล์ถูกดูดซับโดย cell จะทำให้เกิดปฎิกิริยากลายเป็นกรดอะเซติคและเกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสัดส่วน โดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์
ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol เครื่องมี ขนาดเล็กพกพาได้ ราคา 42,600 บาท เมื่อปี2547 (ครม.อนุมัติจัดซื้อ ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน)
- แบบ Infrared Absorption อาศัยหลักการที่แสง Infrared จะถูกดูดซับมากน้อยเท่าใดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์
ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol แต่เครื่องมีขนาดใหญ่ราคาสูงเหมาะใช้สำหรับใช้ประจำที่